ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ประมาณว่าประชากรโลกมากกว่า 500 ล้านคนเป็นโรคไต ในประเทศไทยก็พบผู้ป่วยโรคไตสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน ที่น่าสนใจคือพบว่าผู้ป่วยโรคไตมีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนังบ่อยมาก
นพ.ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์โรคผิวหนัง ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร บอกว่า เมื่อตรวจผิวหนังผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายจะพบว่าร้อยละ 50-100 ของผู้ป่วยมีความผิดปกติของผิวหนังอย่างน้อยหนึ่งชนิด
ปัญหาผิวหนังที่พบในผู้ป่วยโรคไตแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
- การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังในโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไตระยะสุดท้าย เช่น ถ้าโรคไตเกิดจากการเป็นเบาหวานมาก่อน ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังที่เหมือนกับที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เช่น มีผื่นที่หน้าแข้ง ซอกคอดำ ถ้าโรคไตสืบเนื่องมาจากการเป็นโรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ก็จะมีอาการทางผิวหนังที่เหมือนกับที่พบในผู้ป่วยเอดส์ เช่น มีเนื้องอกผิวหนังเป็นตุ่มสีม่วง และลิ้นมีสีขาวแลดูคล้ายมีขน
- การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังที่เนื่องมา จากอาการยูรีเมีย คำว่า ยูรีเมีย เป็นอาการของผู้ป่วยโรคไตวาย ที่มีของเสียจำพวกไนโตรเจนคั่งอยู่ในเลือด ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร เฉื่อยชา หรือหมดสติได้ การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังในกลุ่มนี้ที่พบบ่อยได้แก่ อาการคันผิวหนัง และผิวแห้ง
- การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังที่เนื่องมาจากการเปลี่ยนไต ซึ่งอาจเกิดจากยาที่ต้องใช้ เช่น อาการหน้ากลมเป็นพระจันทร์จากการได้สเตียรอยด์ หรือ อาจเกิดจากภาวะที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถูกกดภูมิต้านทาน จึงทำให้เริม และงูสวัดกำเริบ ติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นฝีหนองง่ายขึ้น ติดเชื้อรา เป็นหิด และเป็นมะเร็งผิวหนังบ่อยขึ้นกว่าคนปกติ
สำหรับอาการคันผิวหนังในผู้ป่วยโรคไตนั้นพบได้บ่อยมาก กล่าวคือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีอาการคันอย่างมีนัยสำคัญ ถึงร้อยละ 15-49 และผู้ป่วยโรคไตที่ต้องล้างไต มีอาการคันร้อยละ 50-90 อาการคันอาจเป็นช่วง ๆ หรือคงที่ เป็นเฉพาะที่ หรือเป็นทั่วร่างกาย คันน้อยจนถึงคันมาก
เมื่ออาการคันเป็นเฉพาะที่มักเป็นเด่นชัดที่แขนและหลังด้านบน อาการคันส่งผลเสียต่อการนอนหลับและสุขภาพจิตของผู้ป่วยได้บ่อย ผู้ป่วยมักเกาจนเกิดรอยแกะเกาทำให้ผิวหนังมีการติดเชื้อตามมาได้ง่าย เกิดตุ่มคันนูนหนา และผิวหนังหนาตัวเป็นเปลือกไม้ สาเหตุของอาการคันเชื่อว่าอาจเกิดจาก ผิวแห้ง ร่างกายขจัดสารที่ก่ออาการคันออกทางผิวหนังได้น้อยลง ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติจึงมีแคลเซียม ฟอสเฟต และฮีสตามีนในเลือดสูงขึ้น
การรักษาอาการคันในผู้ที่เป็นโรคไตนั้น ได้แก่ การใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นโดยปราศจากสารสเตียรอยด์(Steroid) เพิ่มประสิทธิภาพของการฟอกไต ปรับระดับของแคลเซียม ฟอสเฟต ให้ปกติ ในบางรายการใช้ยาแก้แพ้กลุ่มที่กินแล้วง่วง และการอบเซาน่าอาจลดอาการคันลงได้ชั่วคราว ในรายที่เป็นมากแพทย์อาจพิจารณาใช้การฉายแสงรังสียูวีบี และใช้การผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออก.
Reference: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, เดลินิวส์ วันที่ 28 กันยายน 2552, สำนักงาน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วันที่ 05 ตุลาคม 2552 ที่มา: หนังสือastv ผู้จัดการ
เป็นโรคไตผิวแห้งและคัน ทำยังไงดี?
ควรเลือกครีมที่เหมาะสมอย่างไรดี ?
- สาร 3%Stimu-tex™ AS (สติมูเทค-เอเอส) จะทำให้ผิวที่มีอาการผื่นแดง คัน และอาการระคายเคืองจากผิวแห้งได้รับการบรรเทาลง
- สารที่มี 2%ProphyDerm® (โพรไฟล์เดริม)สารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีผลการศึกษายืนยันว่า สามารถช่วยบรรเทาอาการคัน และอาการอักเสบของผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทียบเท่ากับ ไฮโดรคอร์ติโซน(Hydrocortisone) 1% แต่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์(Steroid) สามารถใช้ได้ในระยะยาวมีความปลอดภัยสูง.
- สาร Saccharide Isomerate ® (แซคคาไร ไอโซเมอเรท) ซึ่งเป็นมอยเจอร์ไรเซอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการกักเก็บความชุ่มชื้นของผิวเพราะ ซึ่งเป็นโปรตีนโมเลกุลใหญ่ที่มีความจำเป็นต่อผิวที่พบได้ในผิวตามธรรมชาติเท่านั้น.
- สารสวีสวีทอัลมอนด์ออย (SWEET ALMOND OIL) สารอโลเวล่า(Aloe vera) สารสกัดวิตามินบี3 และ วิตามินอี(Vitamin E) เพิ่มความชุ่มชื้นทำให้ผิวนุ่มขึ้น ลดอาการระคายเคืองของผิว. ดังนั้น คุณสมบัติทั้งหมดนี้ จึงช่วยปกปิ้งผิวให้มีความชุ่มชื้นตลอดเวลา ไม่แห้งกร้านไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง บรรเทาอาการคันให้ลดลงได้ ซึ่งมี
ทางแก้ที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าด้วยคุณสมบัติทั้งหมดอยู่ใน BR DERM AD Cream
เป็นโรคไตผิวแห้งและคัน ทำยังไงดี?
ทางแก้ที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าด้วยคุณสมบัติทั้งหมดอยู่ใน BR DERM AD Cream
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม BR Derm Thailand , BeRich (Thailand) Co., Ltd.เลขที่ 48 ถ.เพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กทม. 10400 Tel: +66(0)26139750, +66(0)26139243-4, +66(0)26139993-4 Fax: +66(0)26139751 Email:This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ID Line:@brderm |
|
***ผ่านการทดสอบการระคายเคืองโดยแพทย์ผิวหนัง จากสถาบัน Dermscan Asia***